หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4

1.ให้นศ.ศึกษาgadget ต่างๆเพื่อหาคำตอบว่าการใช้งานในgadget นั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร
2.ให้นศ.สร้างgadget เพิ่ม 1 อย่างจากที่ได้ศึกษาจากข้อ 1
   
    นำเสนองานในชั้นเรียนคราวหน้า เพื่อให้เพื่อนๆได้เรียนรู้ร่วมกัน


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3

        ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ มา 1 วิชาในสาขาสังคมศึกษา 1 ระบบ ตามหลัก IPO .ในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย

          ระบบการสอน รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย อยุธยาเมืองเก่าระดับ ป.5

     Input
1.แผนการสอน เช่น มีการเตรียมแผนการสอนของรายวิชาประวัติศาตร์อยุธยา
2.วัตถุประสงค์ของการสอน เช่น  สอนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
3.เนื้อหา เช่น เนื้อหาต้องครบถ้วนสมบูณ์ สอนตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง
4.สื่อการสอนเช่น  น่าสนใจ เหมาะกับวัยของนักศึกษา หรือ นักเรียน


     Process
-วิธีการสอน
-การใช้สื่อรูปแบบต่างๆ
-ให้ดูVideoเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในสมัยอยุธยา
-พานักเรียน ไปศึกษาดูงาน ในสถานที่จริง เช่น ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จริงๆๆ
-หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ป.5
-CDเพลงอยุธยารำลึก                                                                                                                                 
-แห่ลงการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ
-แผนที่ประวัติศาสตร์อยุธยาโบราณ

     Output
1.ความรู้ เช่น มีความรู้ความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา
2.ทักษะ เช่นสามารถแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้   มีทักษะในการเรียน
3.คำถาม เช่น  สามารถตั้งคำถามเป็น และสามรถตอบคำถามได้                                                               
4.แบบทดสอบ เช่น ทำแบบทดสอบของรายวิชาประวัติศาสตร์อยุธยาได้ผ่านเกณฑ์                                                          
 5.ทัศนคติ เช่น  มีทัศนคติที่ดีต่อครู นักเรียน  บุคคลทั่วไป                    
                                                            



Assignment 2


  การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ Input   Process   Output


                    การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System (ระบบ)  เพราะลักษณะการผลิตน้ำตาลทรายดังกล่าว จะเป็นขั้นเป็นตอนและแบ่งแยกแต่ละองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน ตามองค์ประกอบของระบบคือ Input > Processor > Output กล่าวคือ มีปัจจัยหน้าที่และสามารถเข้าสู้กระบวนการซึ่งให้ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์
ลักษณะของการผลิตน้ำตาลทรายตามองค์ประกอบของระบบ
            1. ขั้นนำเข้าหรือ Input ซึ่งได้แก่ อ้อย ที่เป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถให้ความหวานได้

            2. ขั้นประมวลผลหรือ Processor ซึ่งหมายถึง การนำเอาอ้อยที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การ นำอ้อยมาบดเพื่อเอาเฉพาะน้ำอ้อย แล้วจึงนำไปเข้าสู้หม้อต้ม หม้อปั่นและหม้อกรอง ตลอดจนถึง ขั้นตอนของการบรรจุใส่ภาชนะที่กำหนด ซึ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีขั้นมีตอนและเป็นกระบวนการ ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบส่วนเสริมเข้ามาคือ "
การปรับ (Adjust)" และ"การควบคุม (Control)" ซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนของการผลิต และหากเกิดปัญหาระหว่างการผลิตก็จะมีผลแจ้งเตือนว่าขั้นตอนนั้นผิดพลาด นั่นก็คือ "Feedback" 
            3.ขั้นที่ออกมาเป็นผลลัพธ์หรือ Output ซึ่งได้แก่ 
ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย




 Input
1.การเตรียมดิน
          1.1 
ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก
          1.2 
ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
          1.3 
การไถ ควรไถอย่างน้อย ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2. การปลูก 
          2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็นเท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
         2.2 
การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
          4. 
การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรกอาจใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
          5.
การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 
   
Process

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย(Juice Purification) น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.การต้ม (Evaporation) น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก (ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย


Output

1.น้ำตาลทราย
2.กากน้ำตาล
3.ซานอ้อย