การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ Input
Process Output
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น
System (ระบบ)
เพราะลักษณะการผลิตน้ำตาลทรายดังกล่าว
จะเป็นขั้นเป็นตอนและแบ่งแยกแต่ละองค์ประกอบได้อย่างชัดเจน
ตามองค์ประกอบของระบบคือ Input >
Processor > Output กล่าวคือ มีปัจจัยหน้าที่และสามารถเข้าสู้กระบวนการซึ่งให้ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์
ลักษณะของการผลิตน้ำตาลทรายตามองค์ประกอบของระบบ
1. ขั้นนำเข้าหรือ Input ซึ่งได้แก่ อ้อย ที่เป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถให้ความหวานได้
2. ขั้นประมวลผลหรือ Processor ซึ่งหมายถึง การนำเอาอ้อยที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การ นำอ้อยมาบดเพื่อเอาเฉพาะน้ำอ้อย แล้วจึงนำไปเข้าสู้หม้อต้ม หม้อปั่นและหม้อกรอง ตลอดจนถึง ขั้นตอนของการบรรจุใส่ภาชนะที่กำหนด ซึ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีขั้นมีตอนและเป็นกระบวนการ ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบส่วนเสริมเข้ามาคือ "การปรับ (Adjust)" และ"การควบคุม (Control)" ซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนของการผลิต และหากเกิดปัญหาระหว่างการผลิตก็จะมีผลแจ้งเตือนว่าขั้นตอนนั้นผิดพลาด นั่นก็คือ "Feedback"
3.ขั้นที่ออกมาเป็นผลลัพธ์หรือ Output ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย
1. ขั้นนำเข้าหรือ Input ซึ่งได้แก่ อ้อย ที่เป็นวัตถุดิบหลักที่สามารถให้ความหวานได้
2. ขั้นประมวลผลหรือ Processor ซึ่งหมายถึง การนำเอาอ้อยที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การ นำอ้อยมาบดเพื่อเอาเฉพาะน้ำอ้อย แล้วจึงนำไปเข้าสู้หม้อต้ม หม้อปั่นและหม้อกรอง ตลอดจนถึง ขั้นตอนของการบรรจุใส่ภาชนะที่กำหนด ซึ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีขั้นมีตอนและเป็นกระบวนการ ซึ่งอาจจะมีองค์ประกอบส่วนเสริมเข้ามาคือ "การปรับ (Adjust)" และ"การควบคุม (Control)" ซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนของการผลิต และหากเกิดปัญหาระหว่างการผลิตก็จะมีผลแจ้งเตือนว่าขั้นตอนนั้นผิดพลาด นั่นก็คือ "Feedback"
3.ขั้นที่ออกมาเป็นผลลัพธ์หรือ Output ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย
Input
1.การเตรียมดิน
1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก
1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก
1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2. การปลูก
2.1 ปลูกด้วยแรงคน
คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว
นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่
ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง
เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น
ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี
เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี
ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรกอาจใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
5.การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรกอาจใช้แรงงานคนแรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
5.การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน
Process
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
1.กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย
จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต
และน้ำตาลทราย
2.การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย(Juice
Purification) น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส
เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล
เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.การต้ม (Evaporation) น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม
(Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก
(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล
และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก
กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์
น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1.การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน
หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง
หรือกากน้ำตาลออก
2.การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย
(Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น
และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก
(ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก)
จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure
Filter) เพื่อแยกตะกอนออก
และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion
Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine
Liquor)
3.การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ
(Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล
โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์
และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
Output
1.น้ำตาลทราย
2.กากน้ำตาล
3.ซานอ้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น